top of page

ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลพื้นฐานของชาวบ้านในชุมชน ณ พื้นที่หมู่บ้านตะโละสะมีแล ตำบลแหลมโพธิ์ อำเภอยะหริ่ง

พื้นที่หมู่บ้านตะโละสะมีแล ตำบลแหลมโพธิ์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

1. ข้อมูลทั่วไปของหมู่บ้าน

1.1 ประวัติ

มีการเล่าสืบต่อกันมาว่า แรกเริ่มเดิมทีพื้นที่บ้านตะโละสะมิแล เป็นพื้นที่ที่งอกขึ้นมาจากการกัดเซาะชายฝั่ง ทำให้มีชาวบ้านจากบ้านบาราโหม บางปู บาลาดูวอ มาประกอบอาชีพประมงในพื้นที่แห่งนี้ โดยการวางเบ็ดราวเพื่อตกปลาดุกทะเล เมื่อก่อนไม่มีเครื่องยนต์สำหรับเรือ ชาวบ้านจะพายเรือกันมาทำประมง ทำให้ต้องใช้เวลาในการเดินทางจึงสร้างที่พักและนอนพักผ่อนระหว่างทำประมง เมื่อชาวบ้านเขามาทำประมงมากขึ้นทำให้เกิดการตั้งถิ่นฐานถาวรในพื้นที่บ้านตะโละสะมิแลจนถึงปัจจุบัน สะมิแลแปลว่าปลาดุกทะเล เพราะพื้นที่แห่งนี้มีปลาดุกทะเลจำนวนมากจึงเกิดการเรียกชื่อหมู่บ้านว่า “ตะโละสะมิแล” (ภาษามลายูท้องถิ่น) หรือแปลเป็นภาษาไทยว่า “อ่าวปลาดุกทะเล”

1.2 วัตถุประสงค์

1 .เพื่อเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาในชุมชนบ้านตะโละสะมิแล เพื่อเสนอแผนการแก้ไขและปรับปรุงพัฒนาอย่างเป็นระบบ

2. เพื่อชี้แจงและร่วมกันหาทางออกระหว่างชุมชนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างมีแบบแผน

3. เพื่อให้เกิดการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง แก้ไข และพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวบ้านในชุมชนให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน

1.3 ประโยชน์ที่ผู้ดำเนินโครงการได้รับ

1. ได้เห็นปัญหาของชาวบ้านในชุมชนบ้านตะโละสะมิแล ทำให้เกิดการเรียนรู้จากการนำปัญหามาวิเคราะห์เพื่อร่วมกันแก้ไข ทำให้เกิดการทำงานที่เป็นระบบ มีความสามัคคีในหมู่คณะ

2. เพิ่มพูนประสบการณ์จากการเรียนรู้ ในการลงพื้นที่ครั้งนี้เพื่อนำความรู้และประสบการณ์ทั้งหมดไปพัฒนาชุมชนต่อไป

1.4 ประโยชน์ที่ชุมชนได้รับ

1. ชาวบ้านในชุมชนได้รับทราบถึงปัญหา ก่อให้เกิดแนวทางและวิธีการเพื่อนำไปปรับใช้ ทำให้ปัญหาต่างๆ ภายในชุมชนลดลง

2. ในอนาคตจะเกิดการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน หากในวันนี้ชาวบ้านทุกคนมีภูมิคุ้มกันที่ดี ในการป้องกันปัญหาและร่วมกันหาทางแก้ไขอย่างเป็นระบบต่อไป

สรุปปัญหา/ความต้องการ

ที่ปัญหาสาเหตุของปัญหาแนวทางการแก้ไข

1. รายได้ไม่เพียงพอมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายในแต่ละวัน

  • สร้างปะการังเทียมเพื่อเพิ่มจำนวนสัตว์น้ำในทะเล เนื่องจากชาวบ้านประกอบอาชีพการประมงเป็นหลัก และเป็นการเพิ่มการชุกชุมของปลาบริเวณแนวปะการังเทียม ซึ่งจะส่งผลให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มจาการทำประมง

  • สนับสนุนเครื่องมือในการประกอบอาชีพประมง (อวน) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

  • ส่งเสริมให้ชาวบ้านมีอาชีพเสริม เช่น หาแพะ แกะ พื้นบ้านให้ชาวบ้านเลี้ยง

2. ไฟฟ้าไม่เพียงพอหม้อแปลงไฟฟ้ามีขนาดเล็ก

  • ขยายหม้อแปลงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นให้เพียงพอ (หมอแปลงมีน้อย)

3. หนี้สินรายได้ไม่เพียงพอต่อการใช้จ่าย

  • หารายได้เสริมให้แก่ชาวบ้าน (หางานให้ชาวบ้าน)

  • ลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น สนับสนุนการออม

4. ผลกระทบจากเครื่องมือประมงที่ผิดกฎหมายมีการลักลอบการใช้เครื่องมือที่ผิดกฎหมาย ทำให้ปริมาณสัตว์ในทะเลลดน้อยลง

  • บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือประมง

5. พ่อแม่ไม่มีทุนส่งลูกเรียนหนังสือมีรายได้ไม่เพียงพอ

  • สร้างอาชีพที่มั่นคงให้แก่ชาวบ้าน

6. น้ำประปาไม่ค่อยไหลมีน้ำใช้ไม่เพียงพอ

  • ขุดบ่อบาดาลเพิ่มขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดน้ำ

7.ที่ดินไม่เอื้ออำนวยในการเพาะปลูกสภาพที่ดินเป็นทราย ยากลำบากต่อการเพาะปลูก

- สนับสนุนอาชีพที่เกี่ยวกับการแปรรูปผลผลิตทางทะเล


bottom of page